สภาพทั่วไปและขั้นพื้นฐาน

 
 
 

ประวัติความเป็นมา

 
 

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์และทรงพระราชทานชื่อว่า " เมืองนครเขื่อนขันธ์"หรือที่เรียกว่า"ปากลัด " อันเนื่องมาจากมีคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยาที่สำคัญคือคลองลัดโพธิ์โดเมืองนครเขื่อนขันธ์ตั้งอยู่บนส่วนที่แคบที่สุดอันเป็นคลองระหว่างปากคลองลัด ทั้งสองคือปากคลองลัดโพธิ์อยู่ทางทิศเหนือ และปากคลองลัดหลวงอยู่ทางทิศใต้ปลายคลองลัดทั้งสองทะลุออกออกแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองข้างดังนั้น พระประแดง ปากลัดหรือนครเขื่อนขันธ์ก็ถือว่าเป็นสถานที่เดียวกัน คือ อำเภอพระประแดงจังหวัดสมุทรปราการในปัจจุบันนั่นเองนอกจากนี้เมืองพระประแดงปากลัดหรือเมืองนครเขื่อนขันธ์แห่งนี้มีบทบาทในฐานะเป็นเมืองหน้าด่านทางะเลที่สำคัญมีป้อมปราการ

อันมั่นคงและมีคลองลัดที่สามารถย่นระยะการเดินทางจากกรุงเทพมหานครและปากน้ำโดยไม่ต้องอ้อมคุ้งน้ำเจ้าพระยาและเมืองพระประแดงยังเป็นที่อยู่อาศัยของชาวมอญที่เรียกว่ามอญปากลัดวิถีชีวิตในการดำรงชีวิต การทำมาหากินในย่านเมืองพระประแดงแห่งนี้ยังเป็นย่านธุรกิจการค้าการขยายที่สำคัญ อีกแห่งหนึ่งด้วยและต่อมาเทศบาลเมืองพระประแดงได้จัดตั้งตาม

ราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาล เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2480 โดยยกฐานะชุมชนในบางส่วนของตำบลเชียงใหม่ ตำบลทรงคนองและตำบลตลาดอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ รวมเป็นตำบลเดียวได้แก่ตำบลตลาดและยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลเมืองพระประแดงเดิมเคยเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดมาก่อนนั้นคือ

อำเภอพระประแดงแห่งนี้เคยเป็นจังหวัดพระประแดง และได้ถูกยุบจากจังหวัดเป็นอำเภอขึ้นกับจังหวัดสมุทรปราการและสำนักงานอาคารเทศบาลเมืองพระประแดงในปัจจุบันสร้างขึ้นเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2526 ตั้งอยู่เลขที่ 1 ถนนพระยาพายัพพิริยะกิจ ตำบลตลาด อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการซึ่งบริเวณโดยรอบของตัวอาคารสำนักงานเทศบาลฯนั้นเป็นตลาดและอาคารพาณิชย์และสำหรับคำขวัญประจำเทศบาลเมืองพระประแดง คือ " ถิ่นสาวงาม เมืองมอญ นามนครเขื่อนขันธ์

 

ที่ตั้ง อาณาเขต และเขตการปกครอง

 
 

เทศบาลเมืองพระประแดงมีพื้นที่ 0.6115 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นเทศบาลที่เกือบจะมีพื้นที่เล็กที่สุดในประเทศไทยแต่ถึงจะมีพื้นที่อยู่อย่างจำกัดและยากที่จะขยายให้มากขึ้นได้ศักยภาพของผู้คนและเอกลักษณ์ของเมืองก็ยังส่งผลให้พระประแดงในวันนี้ได้กลายเป็นชุมชนเมืองที่มีความเจริญและก้าวหน้าอย่างรวดเร็วซึ่งสภาพ

พื้นที่เดิมของพระประแดงแต่ก่อนนั้นเป็น เรือกสวนไร่นา มีคลองลัดตะนงไหลผ่านมีแม่น้ำเจ้าพระยาขนาบด้านทิศตะวันออกและคลองลัดหลวงขนาบอยู่ทางด้านทิศตะวันตกส่งผลให้ผู้คนของที่นี้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักอีกทั้งความอำนวยของพื้นที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเมืองพระประแดงจึงถือเป็นเมืองที่มีบทบาทสำคัญ

ของเมืองหน้าด่านซึ่งเป็นจุดเชื่อมของการเป็นเมืองการค้าและพาณิชยกรรมตั้งแต่ครั้งอดีตจนถึงปัจจุบัน เทศบาลเมืองพระประแดงตั้งอยู่ในเขตอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตอนปลายสุดของแม่น้ำเจ้าพระยาและเหนืออ่าวไทย ตั้งอยู่ภาคกลางของประเทศไทยห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 25 กิโลเมตร โดยมีอาณาเขตติดต่อด้วยนี้

 
ทิศเหนือ ติดต่อกับ เขตองค์การบริหารส่วนตำบลทรงคะนอง
ทิศใต้ ติดต่อกับ แม่น้ำเจ้าพระยาและเขตเทศบาลเมืองลัดหลวง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ แม่น้ำเจ้าพระยาและเขตเทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ เขตเทศบาลเมืองลัดหลวง
 

ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ

 

ภูมิประเทศ ส่วนใหญ่พื้นที่เป็นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและมีลำคลองมากโดยเขตเทศบาลเมืองพระประแดงตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นที่ราบลุ่มเหมาะสำหรับการทำนาทำสวน แต่โดยสภาพพื้นที่ที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน พื้นที่เขตเทศบาลฯได้ใช้เป็นพื้นที่เพื่อการอยู่อาศัยและพื้นที่การค้าซึ่งภายในเขตเทศบาลฯปัจจุบันนี้ไม่มีพื้นที่่ สำหรับการทำสวนทำนาอีกแล้วเป็นพื้นที่สำหรับการพาณิชยกรรม การค้า การขาย การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการภูมิอากาศ ส่วนใหญ่เป็นอากาศแบบชายทะเล อากาศเย็นไม่ร้อนจัด ในฤดูร้อนเป็นร้อนมีความชื้นในอากาศสูง เนื่องจากอิทธิพลจากลมทะเลและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีปริมาณฝนตกมากช่วง เดือนกันยายนและตุลาคม เดือนกันยายนเป็นเดือนซึ่งมีน้ำฝนมากที่สุดและเดือนธันวาคมเป็นเดือนซึ่งมีปริมาณฝนน้อยที่สุด สภาพอากาศเป็นไปตามฤดูกาล

 

สภาพทางเศรษฐกิจ

 

ความเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมได้ส่งผลให้เมืองพระประแดงผันตัวจากเมือsงแห่งการเกษตรกรรมเข้าสู่วิวัฒนาการของเมืองการค้าและพาณิชย์เป็นหลัก เนื่องจากว่าความต้องการในสินค้าและการบริการมีมากเพราะเป็นแหล่งชุมชน อีกทั้งเป็นเส้นทางผ่านเข้าสู่เขตอุสาหกรรมของจังหวัด รวมทั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมดังนั้นพระประแดงในปัจจุบันได้กลายเป็นพื้นที่เพื่อการอยู่อาศัยและเพื่อการค้าผู้คนส่วนใหญ่ของที่นี้ประกอบอาชีพรับจ้างและค้าขายสภาพเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของพระประแดงจึงกลายเป็นเมืองศูนย์รวมของการพาณิชย์ถึงปัจจุบันดังนั้นความต้องการอาหาร ของใช้จำเป็นและที่อยู่อาศัยจะเห็นได้ว่าสถานประกอบกิจการส่วนใหญ่ในเขตอำเภอพระประแดง เช่น จำหน่ายข้าวสาร น้ำตาลทราย เครื่องดื่มนมของชำ ของเบ็ดเตล็ด สุรา บุหรี่ น้ำดื่มอาหารสด-อาหารแห้ง อาหารสำเร็จรูปเป็นต้น นอกจากนั้นเป็นการประกอบกิจการค้าขายเฉพาะอย่าง เช่น ร้านทอง ร้านขายผ้า ตลาดโต้รุ่ง เป็นต้น ในเขตเทศบาลเมืองพระประแดงประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย เป็นตัวแทนค้าปลีกและส่ง มีตลาดเทศบาล จำนวน 4 แห่ง ตลาดเอกชน จำนวน 2 แห่ง สถานธนานุบาล จำนวน 1 แห่ง และธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆภายในเขตเทศบาล จำนวน 4 แห่ง ภายในเขตพื้นที่บริการ 0.6115 ตารางกิโลเมตร

   
  ตารางที่ 2.2 ตางรางแสดงจำนวนรายละเอียดข้อมูลตลาดภายในเขตเทศบาลเมืองพระประแดง
ชื่อตลาด จำนวน (แห่ง) จำนวน (ราย) จำนวน (แผง)
1.ตลาดเอกชน 2 65 65
2.ตลาดท่าหิน 1 35 87
3.ตลาดหน้าวัดพญาปราบฯ 1 19 38
4.ตลาดลานทราย 1 262 686
5.ตลาดหน้าศาลเจ้าพ่อหลักเมือง 1 315 752

 

 

สภาพทางการคมนาคม

  การคมนาคมภายในเขตเทศบาลเมืองพระประแดง ประชาชนสามารถสัญจรไป-มาได้อย่างสะดวกและรวดเร็วได้จำนวน 2 เส้นทาง คือ ทางบกและทางน้ำ ดังนี้
 

ทางบก ในเขตเทศบาลฯมีถนนสายหลัก 6 สายที่ใช้ในการสัญจรไป-มาของประชาชน ได้แก่ 1.)ถนนศรีเขื่อนขันธ์ 2.)ถนนนครเขื่อนขันธ์ 3.)ถนนพระยาพายัพพิริยะกิจ 4.)ถนนพระยาดำรงราชพลขันธ์ 5.)ถนนเพชรหึงษ์ 6.)ถนนทรงธรรม ซึ่งนครเขื่อนขันธ์จะเชื่อมต่อระหว่างจังหวัดสมุทรปราการและกรุงเทพมหานคร

โดยผ่านถนนสุขสวัสดิ์นอกจากนี้ในเขตจังหวัดสมุทรปราการยังมีถนนที่เชื่อมต่อกับจังหวัดใกล้เคียงและกรุงเทพมหานครมีถนนสายหลักๆตัดผ่านไปยังจังหวัดสมุทรปราการและใกล้เคียงหลายสาย เช่น ถนนปู่เจ้าสมิงพลาย และยังมีถนนเชื่อมต่อระหว่างอำเภอต่างๆในจังหวัด เช่น ถนนเพชรหึงษ์-บางกอบัว ยานพาหนะ นอกจากจะใช้รถยนต์ส่วนตัว หรือ พาหนะอื่นๆในการเดินทางภายในจังหวัดแล้วยังสามารถใช้บริการขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯและบริการรถโดยสารของเอกชนได้อีกด้วย ซึ่งทำให้การเดินทางเข้ามากรุงเทพมหานครมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น
 

ทางน้ำ จังหวัดสมุทรปราการตั้งอยู่ 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาโดยเขตเทศบาลเมืองพระประแดงตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ดังนั้น การติดต่อคมนาคมทางน้ำก็จะอาศัยเรือข้ามฝากและมีแพขนานรถยนต์สำหรับบรรทุกรถยนต์ขนส่งสินค้าหรือวัตถุดิบให้กับโรงงานอุตสาหกรรมทั้งสองฝั่ง และระบายสินค้าทางด้านอุตสาหกรรมไปยังตลาดภายในจังหวัดสมุทรปราการ กรุงเทพมหานครหรือจังหวัดอื่นๆอีกด้วย

 

สภาพทางสังคม

  ชุมชนภายในเขตเทศบาลเมืองพระประแดงมีทั้งสิ้น 9 ชุมชน มีจำนวนบ้านทั้งหมดที่รับผิดชอบ จำนวน 2,169 หลังคมเรือน มีจำนวนประชากรแยกตามเพศจำนวน 10,210 คน แบ่งเป็น เพศชาย 4,908 คน เพศหญิง 5,302 คน
 

ชุมชน จำนวนบ้านทั้งหมด จำนวนประชากรตามชุมชน รวม
    เพศชาย เพศหญิง  
*ไม่มีกำหนดชุมชน 7 44 32 76
1.บ้านพักราชการตำรวจ 95 170 122 292
2.หลักเมือง 104 939 960 1,899
3.กรมทรัพยากรธรณี 108 125 99 224
4.วัดโมกข์-วัดแค 90 266 251 517
5.บ้านดัง 151 204 288 492
6.วัดโรมันคาทอลิค 262 538 646 1,184
7.ชุมชนพาณิช 345 408 452 860
8.บ้านแซ่ 514 630 838 1,468
9.ลัดตะนง 493 1,584 1,614 3,198
รวม 2,169 4,908 5,302 10,210
 

ชาวพระประแดงในปัจจุบันถือศาสนาต่างกันไปทั้ง ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ดังจะเห็นได้จาก ศาสนสถานต่างๆในพุทธศาสนา เช่น วัดดวงหทัยนิรมลของแม่พระและมัสยิดดารอสอาดะห์ของศาสนาอิสลามศาสนสถานเหล่านี้เป็นศูนย์รวมจิตใจให้ชาวพระประแดงได้ประกอบกิจกรรมทางศาสนาและน้อมนำจิตใจให้กระทำความดี ชาวพระประแดงจึงเป็นผู้มีจิตใจแจ่มใสเบิกบานดำเนินตามหลักคำสอนของศาสนาที่ตนเองนับถือ ซึ่งนอกจากนี้ศาสนาใดก็อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข นับตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษและสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองซึ่งถือว่าเป็นศูนย์รวมความศรัทธา อันได้แก่ องค์เจ้าพ่อหลักเมือง (พระพิฆเนศ) ที่ประดิษฐานอยู่บนเสาหลักเมือง ณ ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองพระประแดงในฐานะเป็นหลักเมืองของชาวเมืองพระประแดงและวัดทรงธรรมวรวิหารพุทธสถานศักดิ์สิทธิ์ที่มีความงดงามเป็นอย่างยิ่ง
   
  ย้อนกลับ